ประเทศ ฝรั่ง เศส
ลักษณะเด่นด้านการแต่งกายของชาวฝรั่งเศส
ปารีสซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศสคือศูนย์กลางแห่งการออกแบบเครื่อง แต่งกายของโลก นักออกแบบเครื่องแต่งกายชาวฝรั่งเศสในหลายยุคสมัยที่ผ่านมาได้รับการยกย่อง ในฝีมือการออกแบบว่าเป็นผู้นำในการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายที่มีความสวยงาม และนำสมัยมาโดยตลอด ก็เนื่องมาจากประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีวิวัฒนาการที่ยาวนาน สามารจะจำแนกการแต่งกายของชาวฝรั่งเศสออกเป็นสมัยต่างๆได้ 30 สมัย
สมัยปี พ.ศ. 2504-ปัจจุบัน
ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2504เป็นต้นมา การแต่งกายของหญิงและชายหมุนเวียนเปลี่ยนไปมา สรุปได้ว่า แฟชั่นปัจจุบันของผู้ชายได้วิวัฒนาการมาจากเดิมมาก ชุดสากลกลายเป็นแบบที่นิยมใช้กันทั่วโลก เสื้อเชิ้ต ( Shirt) เสื้อโปโล (Polo shirt) และเสื้อทีเชิ้ต ( T-Shirt) เป็นที่นิยมของทุกวัยกางเกงขายาวนิยมแบบฟิตพอดีตัว กางเกงขาสั้นนิยมเหนือเข่าพอดีเข่า สำหรับยีนส์ยังคงอยู่ในความนิยมตลอดมา ขนาดของเนกไทและปกเสื้อจะเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยมส่วนแขนเสื้อและขากางเกง ยังคงของเดิมไว้ สำหรับการแต่งกายในปัจจุบันของผู้หญิง ชุดทำงานหรือชุดเดินทางนิยมชุดสูทแบบกระโปรงใต้เข่าหรือเป็นกางเกงตามความ เหมาะสมของประเภทของงานที่ทำ เสื้อตัวในนิยมแบบกระโปรงชุด ( Dress) ชุดลำลองนิยมแบบชุดคนละท่อนแนวคอเสื้อและปกเสื้อมีทุกรูปแบบเช่นเดียวกับรูป ทรงของกระโปรง ,กางเกง ,แขนเสื้อรวมถึงเครื่องประดับตกแต่งภายนอกร่างกาย ได้แก่รองเท้า ,กระเป๋า ,เข็มขัด ,แว่นตาก็ขึ้นอยู่กับสมัยนิยมเช่นเดียวกัน
ความแตกต่างของการค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่ง ออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทาง
การตลาดระหว่างประเทศ การตลาด (Marketing) เป็นกระบวนการทางสังคมและการจัดการ (Social and managerial process) ซึ่งบุคคลและกลุ่มบุคคลได้รับสิ่งที่ สนองความจำเป็นและความต้องการของเขาจากการสร้าง (Creation) และ การแลกเปลี่ยน (Exchanging) สินค้า และคุณค่ากับบุคคลอื่น (Kotler and Armstorng. 2001 : G – 6)
การตลาด ระหว่างประเทศ (International marketing) ประกอบ ด้วย การค้นหา (Finding) และ การสนองตอบความต้องการ (Satisfying) ของ ลูกค้าทั่วโลกโดยให้เหนือกว่าคู่แข่งขันทั้งคู่แข่งขันภายในประเทศและคู่ แข่งขันจากต่างประเทศ ตลอดจนการประสานงานกิจกรรมการตลาดร่วมกันภายใต้ข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมระดับ โลก (Terpstra and Sarathy. 2000 : 12)
รายละเอียดและส่วนประกอบต่างๆ ที่สำคัญของการทำการตลาดระหว่างประเทศโดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่
(1) การค้นหาความต้องการของลูกค้า ระดับโลก
(2) การ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าระดับโลก
(3) การทำให้มีคุณภาพและมี กลยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน
(4) การประสม ประสานและการประสานกิจกรรมการตลาด
(5) การตระหนัก ถึงข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมระดับโลก
ที่มา :
http://www.arit.dusit.ac.th/elearning/soc/soc22/TOPIC3/linkfile/print5.htm