วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิเคราะห์ SWOT
จุดแข็ง
  •     ไทยมีความชำนาญในด้านการทำลายไทยที่เป็นเอกลักษณ์
  •     มีกลไกสนับสนุนการปฏิบัติงานเชื่อมโยงในทุกระดับ ทั้งในต่างประเทศและภูมิภาค

จุดอ่อน
  •     การผลิตยังไม่ได้มาตรฐานโลก
  •    สินค้ายังไม่ค่อยเน้นในเรื่อง Design ซึ่งจะต้องสัมพันธ์กับ Life Style โดยสิ่งที่สำคัญจะเกี่ยวข้องกับ คุณภาพ รสนิยม หรือ Brand ที่มีชื่อเสียงมากพอที่จะนำเข้าตลาดใหญ่ในฝรั่งเศส

โอกาส
  •    ประเทศฝรั่งเศสเป็นเมืองหลวงของยุโรป ซึ่งมีฐานประชากรกว่า 70 ล้านคน และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของโลก มีผู้คนกว่าปีละ 30 ล้านคน เข้ามาท่องเที่ยวในฝรั่งเศส ดังนั้น ลู่ทางในการค้าขายกับฝรั่งเศสจึงมีอนาค

อุปสรรค
  •     การที่จะเสริมสร้างให้เกิดเป็น New Brand จะแทรกเข้าไปในตลาดยุโรปนั้นเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยเรื่องการวิจัยและพัฒนาในการที่จะสร้างความแตกต่างและการประชาสัมพันธ์ผ่าน Media ต่างๆ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
  •     ประเทศไทยมีรายรับจากการส่งออกสินค้าน้อยกว่ารายจ่ายในการสั่งสินค้าเข้า จึงเกิดการขาดดุลการค้า

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทความการส่งออก


ประเทศฝรั่งเศส ถือเป็นประเทศสำคัญของยุโรป โดยการค้าของไทยกับยุโรปในปีที่แล้ว ประเทศไทยส่งออกเป็นมูลค่า 1,283.39 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยโหมดสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม คอมพิวเตอร์ อัญมณี ยางพารา อาหารทะเล เครื่องใช้ไฟฟ้า และรถปิคอัพ รวมถึง สินค้าประเภทฟุตแวร์ เฟอร์นิเจอร์ และผลไม้กระป๋อง ส่วนสินค้าที่ไทยมีการนำเข้าจากฝรั่งเศส จะมีมูลค่ารวมกัน 1,865.66 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยโหมดสินค้าที่สำคัญที่ไทยนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับอากาศยาน ซึ่งมีมูลค่ากว่า 37% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด นอกจากนี้ ก็มีการนำเข้ายา เครื่องจักร เคมี น้ำหอม และเครื่องสำอาง โดยปีที่แล้ว ไทยขาดดุลการค้ากับประเทศฝรั่งเศส 582 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ประเทศฝรั่งเศสนั้นถือเสมือนเป็นเมืองหลวงของยุโรป ซึ่งมีฐานประชากรกว่า 70 ล้านคน และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของโลก มีผู้คนกว่าปีละ 30 ล้านคน เข้ามาท่องเที่ยวในฝรั่งเศส ดังนั้น ลู่ทางในการค้าขายกับฝรั่งเศสจึงมีอนาคต โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวกับเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งปีที่แล้ว ประเทศไทยมีการส่งออกถือเป็นมูลค่ามากที่สุดของการส่งออกสินค้าไปฝรั่งเศส (เป็นมูลค่าประมาณ 192.31 หรือคิดเป็น 15%) โดยตลาดเสื้อผ้าของฝรั่งเศสนั้นเป็นตลาดที่ใหญ่ โอกาสที่เราจะเข้าไปแทรกตลาดจะมีมาก เนื่องจากชื่อเสียงของฝรั่งเศสในฐานะเป็นเมืองแฟชั่น ดึงดูดให้คนทั่วโลกมาจับจ่ายซื้อเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งเสื้อผ้าราคาถูกของจีนยังเบียดบังเข้าไปยาก ซึ่งสินค้าของจีนมีปัญหาทั้งเรื่องแบบและคุณภาพ สิ่งที่สำคัญสำหรับสินค้าที่จะเข้าไปในฝรั่งเศส โดยที่ประเทศยุโรปซึ่งเป็นประเทศที่มีความร่ำรวย สินค้าจะต้องเน้นในเรื่อง Design ซึ่งจะต้องสัมพันธ์กับ Life Style โดยสิ่งที่สำคัญจะเกี่ยวข้องกับ คุณภาพ รสนิยม โดยเฉพาะในเรื่องของ Branding ซึ่งคนในยุโรปตะวันตกจะให้ความสำคัญสินค้า International Brand มากกว่า Local Brand ซึ่งตรงนี้ทำให้อุตสาหกรรมของไทย ซึ่งไม่เน้นการสร้าง Brand จะไม่สามารถเข้าสู่ตลาดได้โดยตรง ธุรกิจไทยส่วนใหญ่จึงเป็นอุตสาหกรรมรับจ้างส่งออกหรือที่เรียกว่า OEM นอกจากนี้ สิ่งสำคัญในการที่จะเข้าถึงตลาดฝรั่งเศสและ EU การที่จะเสริมสร้างให้เกิดเป็น New Brand จะแทรกเข้าไปในตลาดยุโรปนั้นเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยเรื่องการวิจัยและพัฒนาในการที่จะสร้างความแตกต่างและการประชาสัมพันธ์ผ่าน Media ต่างๆ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก และจะต้องมีระบบการตลาดที่เป็น Global Niche Market และที่สำคัญ กฎเกณฑ์ ระเบียบต่างๆ บอกได้เลยว่ามีความยุ่งยากมาก อย่างไรก็ดี ประเทศต่างๆ ของฝรั่งเศสและ EU ในยุโรปตะวันตกล้วนมีระบบโลจิสติกส์ทั้งด้านพื้นฐานและระบบซัพพลายเชนที่เป็นที่หนึ่งของโลก เมื่อสินค้าไทยเข้าไปสู่ฝรั่งเศสก็สามารถกระจายเข้าไปในประเทศต่างๆของ EU ได้ในเวลารวดเร็ว



ที่มา :
news.nipa.co.th/news.action%3Fne...d%3D5842
www.alodiathailand.com/food_prod..._th.html
http://www.tanitsorat.com/view.php?id=126

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศฝรั่งเศส

การแต่งกายของชาวฝรั่งเศส

ปารีส ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศส คือ ศูนย์กลางแห่งการออกแบบเครื่องแต่งกายของโลกนักออกแบบเครื่องแต่งกายชาวฝรั่งเศสในหลายยุคสมัยที่ผ่านมาได้ รับการยกย่อง ในฝีมือการออกแบบว่าเป็นผู้นำในการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายที่มีความสวยงาม มาโดยตลอดเนื่องมาจากประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีวิวัฒนาการที่ยาวนาน ถึง 30 สมัย
และตั้งแต่ปีพ.ศ.2504เป็นต้นมา การแต่งกายของผู้ชายได้วิวัฒนาการมาจากเดิมมาก ชุดสากลกลายเป็นแบบที่นิยมใช้กันทั่วโลก เสื้อเชิ้ต (Shirt) เสื้อโปโล (Polo shirt) และเสื้อทีเชิ้ต (T-Shirt) เป็น สำหรับการแต่งกายในปัจจุบันของผู้หญิง ชุดทำงานหรือชุดเดินทางนิยมชุดสูทแบบกระโปรงใต้เข่านิยมแบบกระโปรงชุด (Dress) หรือ เป็นกางเกง




วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553


ประเทศฝรั่งเศส
ลักษณะเด่นด้านการแต่งกายของชาวฝรั่งเศส
        ปารีสซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศสคือศูนย์กลางแห่งการออกแบบเครื่อง แต่งกายของโลก นักออกแบบเครื่องแต่งกายชาวฝรั่งเศสในหลายยุคสมัยที่ผ่านมาได้รับการยกย่อง ในฝีมือการออกแบบว่าเป็นผู้นำในการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายที่มีความสวยงาม และนำสมัยมาโดยตลอด ก็เนื่องมาจากประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีวิวัฒนาการที่ยาวนาน สามารจะจำแนกการแต่งกายของชาวฝรั่งเศสออกเป็นสมัยต่างๆได้ 30 สมัย
สมัยปี พ.ศ. 2504-ปัจจุบัน
      ตั้งแต่ปีพ.ศ.2504เป็นต้นมา การแต่งกายของหญิงและชายหมุนเวียนเปลี่ยนไปมา สรุปได้ว่า แฟชั่นปัจจุบันของผู้ชายได้วิวัฒนาการมาจากเดิมมาก ชุดสากลกลายเป็นแบบที่นิยมใช้กันทั่วโลก เสื้อเชิ้ต (Shirt) เสื้อโปโล (Polo shirt) และเสื้อทีเชิ้ต (T-Shirt) เป็นที่นิยมของทุกวัยกางเกงขายาวนิยมแบบฟิตพอดีตัว กางเกงขาสั้นนิยมเหนือเข่าพอดีเข่า สำหรับยีนส์ยังคงอยู่ในความนิยมตลอดมา ขนาดของเนกไทและปกเสื้อจะเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยมส่วนแขนเสื้อและขากางเกง ยังคงของเดิมไว้ สำหรับการแต่งกายในปัจจุบันของผู้หญิง ชุดทำงานหรือชุดเดินทางนิยมชุดสูทแบบกระโปรงใต้เข่าหรือเป็นกางเกงตามความ เหมาะสมของประเภทของงานที่ทำ เสื้อตัวในนิยมแบบกระโปรงชุด (Dress) ชุดลำลองนิยมแบบชุดคนละท่อนแนวคอเสื้อและปกเสื้อมีทุกรูปแบบเช่นเดียวกับรูป ทรงของกระโปรง,กางเกง,แขนเสื้อรวมถึงเครื่องประดับตกแต่งภายนอกร่างกาย ได้แก่รองเท้า,กระเป๋า,เข็มขัด,แว่นตาก็ขึ้นอยู่กับสมัยนิยมเช่นเดียวกัน






 

ความแตกต่างของการค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ
           การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่ง ออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า  เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทาง

การตลาดระหว่างประเทศ

      การตลาด (Marketing) เป็นกระบวนการทางสังคมและการจัดการ (Social and managerial process) ซึ่งบุคคลและกลุ่มบุคคลได้รับสิ่งที่ สนองความจำเป็นและความต้องการของเขาจากการสร้าง (Creation) และ การแลกเปลี่ยน (Exchanging) สินค้า และคุณค่ากับบุคคลอื่น (Kotler and  Armstorng. 2001 : G – 6)
         การตลาด ระหว่างประเทศ (International marketing) ประกอบ ด้วย การค้นหา (Finding) และ การสนองตอบความต้องการ (Satisfying) ของ ลูกค้าทั่วโลกโดยให้เหนือกว่าคู่แข่งขันทั้งคู่แข่งขันภายในประเทศและคู่ แข่งขันจากต่างประเทศ ตลอดจนการประสานงานกิจกรรมการตลาดร่วมกันภายใต้ข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมระดับ โลก (Terpstra and  Sarathy. 2000 : 12)
      รายละเอียดและส่วนประกอบต่างๆ ที่สำคัญของการทำการตลาดระหว่างประเทศโดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่
(1) การค้นหาความต้องการของลูกค้า ระดับโลก
(2) การ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าระดับโลก
(3) การทำให้มีคุณภาพและมี กลยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน
(4) การประสม ประสานและการประสานกิจกรรมการตลาด
(5) การตระหนัก ถึงข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมระดับโลก

ที่มา : 



http://www.arit.dusit.ac.th/elearning/soc/soc22/TOPIC3/linkfile/print5.htm